วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบประสาท

ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส

เซลประสาทประกอบไปด้วยตัวเซล และใยประสาท
- ตัวเซล เป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส
- ใยประสาทแบ่งเป็น 2 พวก คือ
1. พวกที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซล คือ เดนไดรต์ (dendrite)
2. พวกที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซล คือแอกซอน (axon)
ภาพโครงสร้างเซลประสาท


ภาพแอกซอนตัดตามขวางแสดงเซลชวานและเยื่อไมอีลีน
ใยประสาทจะมีเยื่อไมอีลิน (Myelin sheath) หุ้มอยู่ตรงรอยต่อ
ของเซล ชวานแต่ละเซล คือ โนดออฟแรนเวียร์ (node of
Ranvier)
ชนิดของเซล ประสาท แบ่งได้เป็น
1. เซลประสาทขั้วเดียว
2. เซลประสาทสองขั้วเป็นเซลประสาทรับความรู้สึกเข้าสู่
ไขสันหลังและสมอง
3. เซลประสาทหลายขั้ว เป็นเซลประสาทนำคำสั่งจากสมองหรือ
ไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติการ
เยื่อหุ้มเซลประสาท มีคุณสมบัติในการกั้นประจุไฟฟ้า
ภายนอกเซล ประสาทมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก ภายในเซลมีประจุ
ไฟฟ้าเป็นลบเพราะสารละลายภายนอกเซล มีไอออนที่เป็นเกลือ
สูงมาก จึงแตกตัวให้โซเดียมไอออน (Na+) และคลอไรด์ไอออน
(Cl- ) เยื่อหุ้มเซลจะส่ง Na+ ออกนอกเซลตลอดเวลา ขณะเดียวกัน
จะดึงโพแทสเซียมไอออน (K+) ให้สะสมอยู่ในเซล เรียกว่า
ขบวนการโซเดียมโพแทสเซียมปั้ม (Sodium Potassium pump)
ไซแนบส์ (Synapse) คือบริเวณที่ปลายของแอกซอนของเซล
ประสาทหนึ่งอยู่ชิดกับเดนไดรต์
บริเวณปลายแอกซอนจะมีถุงเล็ก ๆ ภายในมีสารสื่อประ
สาทเป็นพวกอะซีติลโคลีน (acetylcholine) สารสื่อประสาททำ
หน้าที่ช่วยให้กระแสประสาทผ่านไซแนบส์ไปสู่ปลายเดนไดรต์
ของอีกเซลหนึ่งได้
ศูนย์กลางของระบบประสาท
สมองและไขสันหลังเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท สมอง
และไขสันหลังเปลี่ยนแปลงมาจากนิวรัลทิวบ์ (neural tube)
สมอง
สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนหน้า ,
ส่วนกลาง และส่วนท้าย
สัตว์ที่สมองมีรอยหยัก จะมีความสามารถในการเรียนรู้สูง
สมองคน ประกอบไปด้วย
ภาพสมองคนผ่าซีก
ซีรีบรัม (Cerebrum)
พัฒนามาจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้ ความจำ
เชาว์ปัญญา เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่าง
กาย
ออลแฟกทอรีบัลบ์ (Olfactory bulb) สมองส่วนที่อยู่หน้า
สุดมีขนาดโตมาก สำหรับพวกปลาทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น
ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้า
ยื่นติดต่ดกับต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นศูนย์ควบ
คุมความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่าง
กาย การนอนหลับ การเต้นของหัวใจ ความดัน ความหิว
ทาลามัส (thalamus)
อยู่เหนือขึ้นไปจากไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวม
กระแสประสาท และแยกกระแสประสาทส่งไปยังสมอง
เซรีเบลลัม (Cerebellum) คือ ส่วนของสมองส่วนท้าย ทำหน้าที่
เป็นศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
พอนส์ (pons) อยู่ด้านหลังเซรีเบลลัม ทำหน้าที่ควบคุมการทำ
งานของการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย ควบคุมการเคลื่อนไหวบริเวณ
ใบหน้า
เมดุลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นสมองส่วนท้าย
ติดต่อกับไขสันหลัง ทำหน้าที่เป็นูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบ
ประสาทอัตโนมัติ เช่น ศูนย์ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ
การไหลเวียนของโลหิต


ไขสันหลัง














ไขสันหลังอยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อ
แรกถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2
ไขสันหลังตัดตามขวางจะเห็นมีเนื้อสีเทาด้านใน บริเวณนี้มี
เซลประสาทอยู่จำนวนมาก ส่วนบริเวณด้านนอกเป็นเนื้อสีขาว
จะมีใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม ส่วนที่เป็นเนื้อสีเทามีรูปร่าง
คล้ายปีกผีเสื้อ ปีดด้านบนคือ ดอร์ซัลฮอร์น (dorsal horn)
ปีกด้านล่างคือ เวนทรัลฮอร์น (Ventral horn) จากไขสันหลังมี
เส้นประสาทแยกออกมาเรียกว่า เส้นประสาทไขสันหลัง ตรง
โคนของเส้นประสาทแยกออกเป็น 2 ราก คือ
- รากบน (dorsal nerve)
- รากล่าง (Ventral nerve)
ปมประสาทรากบน (dorsal root ganglion)
จะมีเซลประสาทรับความรู้สึกมีเดนไดรต์อยู่ในเส้นประสาท
ปมประสาทรากล่าง (Ventral root ganglion)
ประกอบไปด้วยแอกซอนของเซลประสาท ทำหน้าที่นำ
กระแสประสาทไปยังหน่วยปฏิบัติการ เชื่อมโยงกระแสประสาท
ระหว่างเซลประสาทรับความรู้สึก และเซลประสาทนำคำสั่ง










การทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาท แบ่งออกเป็น







1. ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary nervous
system) เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อลาย










2. ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ได้แก่
- ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system)
- ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous
system)
ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
เรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ
การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
หัวใจ
การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกเต้นแรงและเร็ว ส่วน
การทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเต้นช้าและเบาลง
กล้ามเนื้อม่านตา
การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกม่านตาตามแนวรัศมีหด
ตัว(ปิวปิลขยาย) ส่วนการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพา
เทติกม่านตาแนวเส้นรอบวงหดตัว (ปิวปิลแคบลง)
กล้ามเนื้อหลอดลม
การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกคลายตัวออก หายใจ
คล่อง ส่วนการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกหดตัว
เข้า หายใจไม่สะดวด
กระเพาะปัสสาวะ
การทำงานระบบประสาทซิมพาเทติกคลายตัว ส่วนการทำงาน
ของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกบีบตัว และขับปัสสาวะ
ต่อมน้ำลาย
การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกสร้างน้ำเมือก ทำให้
น้ำลายเหนียว และหลั่งออกมาน้อย ส่วนการทำงานของระบบ
ประสาทพาราซิมพาเทติกสร้างส่วนที่เป็นน้ำ ทำให้น้ำลายใส
และหลั่งออกมามาก


นัยน์ตาและการมองเห็น












ผนังที่ห่อหุ้มนัยต์ตาประกอบด้วย
1. สเคลรา (sclera)
2. โครอยด์ (choroid)
3. เรตินา (retina)
เซลรับแสงมีรูปร่างต่างกัน แบ่งได้เป็น
1. เซลรูปแท่ง (rod cell) ทำหน้าที่เป็นเซลรับแสง ที่มีความไว
ต่อแสงมาก
2. เซลรูปกรวย (Cone cell) ทำหน้าที่บอกความแตกต่างของสี
โฟเวีย (fovea) คือบริเวณตรงกลางของเรตินาที่ปรากฎภาพได้
ชัดเจนมาก
เซลรูปแท่งภายในประกอบด้วยโรดอปซิน (rhodopsin) ซึ่ง
เป็นสารสีม่วงแดงเมื่อถูกแสงจะเปลี่ยนเป็นเรตินา (retinene) และ
ออปซิน (opsin)

หูและการรับฟัง












หู คือ อวัยวะรับฟังของคน มีหน้าที่รับความถี่ของคลื่นเสียงใน
ระดับต่าง ๆ และทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
หูแบ่งได้เป็น
1. หูตอนนอก คือตั้งแต่ใบหูจนถึงเยื่อแก้วหู ทำหน้าที่รับคลื่น
เสียงจากภายนอก
2. หูตอนกลาง มีลักษณะเป็นโพรง หูตอนกลางจะมีกระดูก 3 ชิ้น
คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง กระดูกโกลน
3. หูตอนใน ประกอบไปด้วยอวัยวะที่รับเสียงและอวัยวะเกี่ยว
กับการทรงตัว
- อวัยวะรับเสียงอยู่ภายในคอเคลีย (Cochlea)
- อวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว คือ เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล
(Semicircular canal) มีลักษณะเป็นหลอดครึ่งวงกลม 3 อัน
ที่ปลายหลอดมีเซลรับความรู้สึกที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
ของศีรษะ และส่งกระแสประสาทไปยังสมอง
จมูกและการดมกลิ่น
ภายในเยื่อบุจมูกมีเซลรับสัมผัส ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับกลิ่น
จะทำงานโดยส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาทรับกลิ่น และส่ง
ต่อไปยังสมองส่วนซีรีบรัม
ลิ้นและการซิมรส
ลิ้นจะมีเซลรับรส อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ คือ ตุ่มรับรส (taste
bud) มี 4 ชนิด คือ
- ตุ่มรับรสเค็ม
- ตุ่มรับรสหวาน
- ตุ่มรับรสขม
- ตุ่มรับรสเปรี้ยว
ภาพแสดงบริเวณของตุ่มรับรสต่าง ๆ ของลิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น