วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮอร์โมน

ฮอร์โมน





ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ( endocrine gland ) หรือเนื้อเยื่อ (endocrine tissue) แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย ( target organ ) ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีน อามีนและสเตียรอยด์

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองต่อมใต้สมอง( pituitary gland)

อยู่ตรงส่วนล่างของสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ต่อมใต้สมองส่วนหน้า( anterior lobe of pituitary gland )
- ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( intermediated lobe of pituitary )
- ต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง( posterior lobe of pituitary gland )

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )

เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ hypothalamus สร้างฮอร์โมนประเภทสารโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ ได้แก่

1. Growth hormone(GH) หรือ Somatotrophic hormone(STH) ฮอร์โมนนี้หลั่งตอนหลับมากกกว่าตอนตื่นและตอนหิวมากกว่าช่วงปกติเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย polypeptide ที่มีกรดอมิโน 191 ตัว มีธาตุกำมะถันอยู่ในรูป disulphid กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยอาศัย thyroxin และ inrulin เป็นตัวคะตะลิสต์มีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูกกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆของร่างกายความผิดปกติเมื่อร่างกายขาดหรือมีมากเกินไป

- ถ้าร่างกายขาด GH ในเด็ก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (สติปัญญาปกติ) เรียก Dawrfism ในผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด(stess) สูงเรียกว่า Simmom’s disease

- ถ้าร่างกายมี GH มากเกินไป ในวัยเด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism ในผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly

2. Gonadotrophin หรือ Gonadotrophic hormone ประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ

2.1 Follicle stimulating hormone (FSH) ทำหน้าที่กระตุ้นฟอลลิเคิลให้สร้างไข่และไข่สุก มีการสร้างฮอร์โมน estrogen ออกมา และกระตุ้น seminiferrous tubule ให้สร้างอสุจิ

2.2 Luteinizing hormone (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกจากฟอลลิเคิล สำหรับในเพศชาย กระตุ้นให้ interstitial cells ในอัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจเรียกว่า Interstitial Cell Stimulating Hormone (ICSH)

3. Prolactin หรือ Lactogenic hormone (LTH) ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมในเพศหญิง นอกจากนี้ทำหน้าที่ร่วมกับ androgen ในเพศชายกระตุ้นต่อมลูกหมาก การบีบตัวของท่อนำอสุจิ การสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
4. Andrenocorticotrophin หรือ Adrenocorticotrophic hormone (ACTH) มีหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตและการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้สร้างฮอร์โมนตามปกติและกระตุ้น การหลั่ง insulin การหลั่ง GH ควบคุมการทำงานของต่อมเหนือไตชั้นนอก ( adrenal cortex ) ทำให้สีของสัตว์เลือดเย็นเข้มขึ้น มีโครงสร้างเหมือน MSH

5. Thyroid Stimulation hormone (TSH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ thyroxine hormoneการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจากสมองส่วน hypothalamus มีฮอร์โมนที่กระตุ้นและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและมีชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน เช่น

- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง GH ( GH releasing hormone, GRH) กระการหลั่งฮอร์โมน growth

- ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง GH (GH inhibiting hormone,GIH) ยับยั้งไม่ให้มีการหลั่งฮอร์โมน growth

- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง prolactic (Prolactin releasing hormone,PRH) กระตุ้นให้ Prolactin หลั่งออกมา

- ฮอร์โมนควบคุมการหลั่ง thyroid (Thyroid releasing hormone,TRH) กระตุ้นการหลั่ง TSH

- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gn (Gonadotrophin releasing hormone,GnRH) กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH และ FSH ฮอร์โมนเหล่านี้รวมเรียกว่า ฮอร์โมนประสาท เพราะสร้างมาจากเซลล์พิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาทภายใน hyprothalamus

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Intermediate lobe)

มีขนาดเล็กมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Melanocyte Stimulating Hormone(MSH) ทำหน้าที่ปรับสีของสัตว์เลือดเย็นให้เข้มขึ้น(ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ Malatonin จากต่อม pineal ) ในสัตว์เลือดอุ่นมีหน้าที่ไม่แน่ชัดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) เป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อประสาทจาก hypothalamus ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนภายนอก แล้วลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่

1. Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะมีการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาตอนคลอดลูกและในขณะร่วมเพศ แต่ถ้าหลั่งออกมามากก่อนคลอดจะทำให้แท้งลูกได้

2. Vasopressin หรือ Antidiuretic hormone ( ADH ) ทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถ้าร่างกายขาดจะปัสสาวะมากทำให้เกิดโรคเบาจืด( diabetes inspidus)

ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลเกอร์ฮานส์Paul langerhan(1868)

แห่งมหาวิทยาลัยไพรเบิร์กในเยอรมัน ได้ศึกษาตับอ่อนและพบกลุ่มเซลล์ตับอ่อนกระจายอยู่เป็นย่อมๆมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก แ ละเรียกกลุ่มเซลล์เหล่านี้ตามชื่อของผู้คนพบว่า islets of Langerhans ฮอร์โมนที่สำคัญมี 2 ชนิดคือ

1. Insulin สร้างมาจากกลุ่ม ? – cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก หน้าที่ของ insulin คือรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ถ้ามีน้ำตาลในเลือดสูง insulin จะช่วยเร่งการนำกลูโคสเข้าเซลล์และเร่งการสร้าง glycogen เพื่อเก็บสะสมไว้ที่นับและกล้ามเนื้อ และเร่งการใช้กลูโคสของเซลล์ทั่วไป ทำให้น้ำตาลในเลือดน้อยลงในคนปกติจะมีน้ำตาลในเลือด 100 mg ต่อเลือด 100 Cm3 กรณีคนที่ขาด insulin ทำให้เป็นโรคเบาหวาน ( diabetes mellitus ) คือ มีน้ำตาลในเลือดสูงมากและหลอดไตดูดกลับไม่หมด จึงมีส่วนหนึ่งออกมากับปัสสาวะ เมื่อเป็นมากๆ ร่างกายจะผอม น้ำหนักตัวลดลงมากเนื่องจากมีการสลายไขมันและโปรตีน มาใช้แทนคาร์โบไฮเดรตซึ่งร่างกายใช้ไม่ได้ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง และมีน้ำตาลออกมาด้วย ปัสสาวะมีความเป็นกรดมาก เนื่องจากมีคีโตนบอดี (Ketone Body) ซึ่งเป็นผลจากการสลายไขมัน นอกจากนี้ถ้าหากเป็นแผลจะหายยากมากเพราะในเลือดมีน้ำตาลสูง จุลินทรีย์ต่างๆจึงใช้เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี เมื่อเป็นนานเข้าผู้ป่วยจะตาย เนื่องจากไตหมดประสิทธิภาพในการทำงาน

2. Glucagon สร้างมาจาก ?

– cell เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่และมีน้อยกว่า ?

– cell glucagon มีหน้าที่เพิ่มน้ำตาลในเลือดโดยเร่งสลายไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ insulin ) และเร่งการสร้างกลูโคสจากโปรตีนด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจะเป็นสัญญาณให้ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ทำงานเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ

ฮอร์โมนจากต่อหมวกไตต่อมหมวกไต(adrenal gland)

เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่เหนือไตทั้งสองข้าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ต่อมหมวกไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. adrenal cortex หรือต่อมหมวกไตชั้นนอก ผลิตฮอร์โมนได้มากกว่า 50 ชนิด ภายใต้การควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นมีสมบัติเป็นสเตอรอยด์ (steroid) แบ่งฮอร์โมนเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ

1.1 Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยน glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่เหมือนกลูคากอนจากตับอ่อน)ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ฮอร์โมนกลุ่มนี้คือ cortisol และ cortisone ( ในภาวะตึงเครียดถ้ามีการหลั่ง cortisol มากทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้) ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจำทำให้อ้วน อ่อนแอ ( ไขมัน พอกตามตัว ) หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกับคนเป็นโรคเบาหวาน เรียกว่า โรคคูชชิง( Cushing’s syndrome)

1.2 Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อตับถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ

1.3 Adrenal sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยกระตุ้นให้มีลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง (secondeary sexual characteristics) ในเด็กผู้หญิงพบว่า ถ้ามีฮอร์โมนเพศมากเกินไปจะมี่ขนาด clitoris โต และมีอวัยวะที่ labium คล้ายๆถุงอัณฑะถ้าเป็นผู้หญิงที่โตเป็นสาวแล้วจะมีผลทำให้เสียงต่ำและมีหนวดเกิดขึ้น ประจำเดือนหยุดเรียกลักษณะนี้ว่า Adrenogentital sysdromeถ้า adrenal cortex ถูกทำลายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เป็นโรค Addison’s disease ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

2. Adrenal medulla เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ( ไม่มี parasympathetic ) ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด

2.1 Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง ( ความดันเลือดสูง ) เส้นเลือดขยายตัวเปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด ทำให้มีพลังงานมากในขณะหลั่งออกมา (adrenalin ใช้ในการห้ามเลือดได้เพราะทำให้เลือดเป็นลิ่ม ๆ)

2.2 Noradrenalin hormone หรือ Norepinephrine hormoneกระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ( ความดันเลือดสูง ) ผลอื่นๆคล้าย adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า

ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ต่อมไทรอยด์(Thyroid gland)

เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ มี 2 lobe อยู่บริเวณลำคอ หน้าหลอดลมใต้กล่องเสียงเล็กน้อยต่อมนี้สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ

1. Thyroxin เป็นสารอนุพันธ์ของกรดอมิโน ช่วยเร่งอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ช่วยให้เกิด metamorphosis เร็วขึ้น ฮอร์โมนนี้จำเป็นต่อการเจริญและการพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะสมองถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซิน ในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาไม่ดี อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายเตี้ยแคระ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Cretinismส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉื่อยชา เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Myxedemaนอกจากนี้การขาดธาตุไอโอดีน ยังมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้ ส่งผลให้เป็น โรคคอพอก ( Simple goiter หรือ endemic goiter) เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอกซิน จะมีผลให้ Hypotalamus หลั่งสารเคมีมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH ส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ เมื่อต่อมถูกกระตุ้นจึงมีขนาดขยายโตขึ้นการสร้างฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดโรค Grave’s disease ในเด็กจะมีอาการตัวสั่น ตกใจง่าย แต่คอไม่พอก ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดอาการคอพอกเป็นพิษ (toxin goiter หรือ exophthalmic goiter ) ต่อมมีขนาดใหญ่ มีฮอร์โมนมาก อัตราเมแทบอลิซึมจะสูง นานไปจะมีการสะสมสารเคมีบางชนิดในเบ้าตาทำให้ตาโปน

2. Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ลดระดับของแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติ ให้เข้าสู่ระดับปกติ โดยดึงส่วนที่เกินนั้นไปไว้ที่กระดูก ดังนั้นระดับแคลเซียมในเลือดจึงเป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ฮอร์โมนนี้จะทำงานร่วมกับต่อมพาราไทรอยด์และวิตามิน

ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์(parathyroid gland)

มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว มีอยู่ด้วยกัน 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ parathormoneParathormone เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและเนื้อเยื่อให้ปกติ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับวิตามิน ซี และ ดี ทำหน้าที่ควบคุมแคลเซียม กับ Calcitoninถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่องของหน่วยไตลดน้อยลง แต่จะมีฟอสฟอรัสมากขึ้น มีผลทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็งเรียกการเกิด tetany แก้โดยลดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงๆ และเพิ่มแคลเซียมหรือฉีดวิตามิน Dแต่ในกรณีที่มีมากเกินไปจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงประสาทตอบสนองได้น้อย กล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดกระดูก

ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์ต่อมเพศ (gonad gland)

หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ์คืออัณฑะ หรือ รังไข่

1. อัณฑะ (testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ interstitial cell เป็นแหล่งที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายฮอร์โมนที่ถูกสร้างเป็นสารสเตียรอยด์ ที่เรียกว่า androgens ประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญคือ testosterone ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดบริเวณที่ริมฝีปาก กระดูกหัวไหล่กว้าง

2. รังไข่( ovary ) เป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ต่อมเพศอยู่ในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง มีแหล่งสร้างฮอร์โมน 2 แหล่ง คือ follicle ในรังไข่ และ corpus luteum ฮอร์โมนที่สร้างได้มี 2 ชนิด คือ

1.1 Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก follicle ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง การมีประจำเดือน เตรียมการตั้งครรภ์ ห้ามการสร้างไข่ โดยห้าม FSH จากต่อมใต้สมองและกระตุ้นให้มีการหลั่ง LH แทน

1.2 Progesterone สร้างจาก corpus luteum มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนา ห้ามการมีประจำเดือน ห้ามการตกไข่ ให้ต่อมน้ำนมเจริญมากขึ้น ป้องกันการแท้งบุตร อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าระบบฮอร์โมนขณะมีการเปลี่ยนแปลงรอบเดือน ในขณะมีรอบเดือน (memstrucation) Estrogen และ LH ต่ำ progresterone ต่ำมาก ภายหลังการตกไข่ (ovulation ) progesterone จะสูงขึ้นและจะสูงสุดภายหลังตกไข่ผ่านไป 1 สัปดาห์ จากนั้นจะลดลงเรื่อยๆถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิ

ฮอร์โมนจากต่อไพเนียลต่อมไพเนียล (pineal gland)

เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างสมองส่วน cerebrum พูซ้ายและพูขวา ต่อมไพเนียลจะสร้างฮอร์โมน melatoninMelatonin เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในคนและสัตว์ชั้นสูงในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว โดยจะไปยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ถ้าต่อมนี้เกิดผิดปกติและผลิตฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้าลงกว่าปกติในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำบางชนิด เช่น ปลาปากกลมต่อมไพเนียลจะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แต่จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสง (photoreceptor)การหลั่งฮอร์โมนของต่อมนี้ จะหลั่งได้ดีในกรณีอยู่ในที่มืดในสัตว์พวกที่อยู่ในที่มีแสงสว่างมากจะหลั่งน้อย พวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น ฮอร์โมนนี้จะไปช่วยในการปรับสีของผิวหนังให้จางลง (ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับ MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง)

ฮอร์โมนจากต่อมไทมัสและเนื่อเยื่ออื่นในร่างกายต่อมไทมัส(Thymus glad)

มีลักษณะเป็น 2 พู อยู่ตรงทรวงอก รอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจเป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่สร้างลิมโฟไซต์(T-Lymphotyce) หรือ T-Cellการที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองสร้างเซลล์ได้ต้องมีฮอร์โมนThymosinที่สร้างจากเนื้อเยื่อบางส่วนของต่อมไทมัส ต่อมนี้เจริญเต็มที่ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์แม่ และจะเสื่อมสภาพเรื่อยๆเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นนอกจากนี้ ฮอร์โมนบางชนิดยังสามารถสร้างจากเนื้อเยื่อในร่างกายได้เนื้อเยื่อสำคัญคือ เนื้อเยื่อชั้นในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อนี้เป็นสารประเภทโปรตีน มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ได้แก่

1. Gastrinเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้น ทำหน้าที่กระตุ้นหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก

2. Sacretin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในบริเวณดูโอดินัม ของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในตับอ่อน และกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดี เมื่ออาหารผ่านจากกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก

การควบคุมการทำงานของฮอร์โมนนี้

1. ควบคุมโดยระบบประสาทโดยตรง เช่น การทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหลัง และอะครีนัลเมดัลลา

2. ควบคุมระบบประสาทโดยอ้อม เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมอะดรีนัลอร์เทกซ์ รังไข่ อัณฑะ ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ถูกควบคุม โดยต่อมใต้สมองส่วนหน้า แต่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าถูกควบคุมโดยฮอร์โมนส่วนประสาทจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส

3. ควบคุมโดยฮอร์โมน โดยต่อมไร้ท่อจะสร้างฮอร์โมนมาควบคุมซึ่งกันและกัน ซึ่งมีทั้งกระตุ้น และยับยั้ง เช่นต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้างฮอร์โมนมาควบคุม และกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มขึ้น เมื่อฮอร์โมนนี้มีมากเกินไปก็จะยับยั้งฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าอีกทีหนึ่ง การควบคุมแบบนี้เรียกว่า การควบคุมแบบย้อนกลับ (Negative feed back)

4. การควบคุมโดยผลของฮอร์โมน เช่น การหลั่ง Paratormone ถูกควบคุมโดยระดับแคลเซียม ในพลาสมา ถ้าระดับแคลเซียมในพลาสมาต่ำจะมีผลไปกระตุ้นต่อต่อมพาราไทรอยด์ ให้หลั่งParatormone ออกมามาก แต่เมื่อระดับแคลเซียมสูง จะเป็นการยับยั้งฮอร์โมนนี้

ฟีโรโมน (Pheromone)

Pheromone หมายถึง สารเคมีที่สัตว์ขับออกมานอกร่างกาย โดยต่อมมีท่อ (exocrine gland) ซึ่งไม่มีผลต่อตัวเอง แต่จะไปมีผล ต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็นชนิดหรือสปีชีส์เดียวกัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีรวิทยาเฉพาะอย่างได้ฟีโรโมน จัดเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสารสัญญาณดังนี้

1. สารดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex Attractant)

2. สารเตือนภัย (Alarm Pheromone)

3. สารส่งเสริมการรวมกลุ่ม (Aggregation – Promoting Subtances)ยกว้นสารสารที่มีกลิ่นเหม็นๆของแมลงที่ผลิตออกมาเพื่อป้องกันศัตรู เรียกว่าAllomones

ฮอร์โมนจากแมลงฮอร์โมนจากแมลงมี 3 กลุ่ม คือ

1. ฮอร์โมนจากสมอง (brain hormone หรือ BH) เป็นกลุ่มฮอร์โมนซึ่งสร้างจาก neurosecretory cell ในสมอง กระตุ้นต่อมไร้ท่อบริเวณทรวงอก ทำให้สร้างฮอร์โมน molting hormone (MH) ไปเก็บไว้ใน corpus cardiacum ต่อไป

2. ฮอร์โมนเกี่ยวกับการลอกคราบ (molting hormone หรือ MH) สร้างบริเวณทรวงอกมีผลทำให้แมลงลอกคาบ และ metamorphosis เป็นตัวโตเต็มวัย

3. ฮอร์โมนยูวีไนล์(Juvenile hormone หรือ JH) สร้าง จากต่อมทางสมองมาทางซ้ายเรียก corpus allatum ทำหน้าที่ห้ามระยะตัวหนอนและดักแด้ไม่ให้ไม่ให้เป็นตัวเต็มวัย แต่ถ้ามี JH ลดลง จะกระตุ้นให้ลอกคราบแล้วกลายเป็นตัวเต็มวัยได้

ฮอร์โมนพืช (plant hormone)

ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วยสารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชนี้เรียกว่า ฮอร์โมนพืช มี 5 ประเภทคือ

1. ออกซิน(Auxin) หรือ กรดอินโดลแอซีติก(indoleacetic acid) เรียกย่อว่า IAA เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อนและรากอ่อนแล้วแพร่ไปยังเซลล์อื่น คุณสมบัติของออกซิน มีดังนี้- แพร่จากยอดลงสู่ต้น- หนีแสงไปยังด้านที่มืดกว่า

- ช่วยให้เจริญเติบโต แต่ยับยั้งการแตกของตาด้านข้าง

- กระตุ้นการออกดอก และการกระตุ้นให้ ovary >>> fruit ( ไม่มีเมล็ด ) โดยไม่ต้องผสมพันธุ์

- กระตุ้นการแตกราของกิ่งในการเพราะชำ

- ชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล

- กระตุ้นให้ยอดเจริญเติบโตรวดเร็ว แต่ในรากยับยั้งให้ช้าลง

2. จิบเบอเรลลิน ( gibberellin) หรือ กรด gibberellic acid เรียกว่า GA เป็นฮอร์โมนพืชพวกหนึ่งในพืชชั้นสูง สร้างมาจากใบอ่อนและผลที่ยังไม่แก่ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติดังนี้

- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ระหว่างข้อปล้อง ทำให้ต้นไม้สูง

- กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา เพิ่มการเกิดดอก

- เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียในพืชตระกูลแตง

- ช่วยยืดช่อของผล

3. เอทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งผลิตขึ้นมาขณะที่เซลล์กำลังมีเมแทบอลิซึม ตามปกติเอทิลีนทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจ และยังทำหน้าที่อื่นๆดังนี้

- เร่งเมแทบอลิซึม ทำให้ผลไม้สุก

- กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับประรด

- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ

- เร่งการงอกของเมล็ด

- เร่งการไหลของน้ำยางพารา

4. กรดแอบไซซิก(abscisic acid) เรียกย่อว่า ABA เป็นฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นในการร่วงของใบโดยตรง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่

- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่เต็มที่

- ยับยั้งการเจริญของเซลล์บริเวณตา

- กระตุ้นให้ปากใบปิดเมื่อขาดน้ำ

- ยืดระยะพักตัวของต้นอ่อนในเมล็ด

5. ไซโทไคนิน (cytokinin) เป็นฮอร์โมนพืชที่พบในน้ำมะพร้าวและสารที่สกัดได้จากยีสต์มีสมบัติกระตุ้นการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ คุณสมบัติอื่นๆมีดังนี้

- กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ใช้ผสมในอาหารเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้เกิดหน่อใหม่

- กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง

- ชะลอการแก่ของผลไม้

การพาสเจอร์ไรส์

การพาสเจอร์ไรส์

ความหมาย
การพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) เป็นการถนอมอาหารชั่วคราววิธีหนึ่ง โดยใช้ความร้อนในอุณหภูมิระหว่าง 60 - 80 องศาเซลเซียส ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้

ประวัติความเป็นมา
พาสเจอร์ไรส์เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ซึ่งเป็นคนแรกที่คิดค้นการฆ่าจุลชีพที่แปลกปลอมอยู่ในเหล้าไวน์ระหว่างปี พ.ศ. 2407-2408 โดยการใช้ความร้อนประมาณ 50 - 60 องศาเซลเซียส ซึ่งการค้นพบนี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการผลิตเครื่องดื่มที่ต้องฆ่าจุลชีพ แต่ใช้อุณหภูมิสูงมากไม่ได้ เพราะจะทำให้รสและกลิ่นเปลี่ยนแปลงและในปี พ.ศ.2434 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ ซอกเลต (Soxhlet) จึงได้นำวิธีการนี้มาใช้กับนมสด

หลักการ
ความร้อนเป็นพลังงานรูปหนึ่งเมื่อมีอยู่ในสิ่งใดจะทำให้โมเลกุลของสิ่งนั้นเกิดการเคลื่อนไหว ความร้อนทำให้สารโปรตีนแข็งตัวจับกันเป็นก้อนและหมดฤทธิ์โดยการเร่งปฏิกิริยาทางเคมี ความร้อนจึงทำลายเอนไซม์และสามารถทำลายจุลชีพได้ ณ อุณหภูมิน้ำเดือด แต่มีจุลชีพที่พบบางชนิดสร้างเกราะเรียกว่า "สปอร์" หุ้มตัวเอง ทำให้สามารถต้านทานอุณหภูมิน้ำเดือดได้แต่จะตายเมื่อใช้ความร้อนสูงกว่าอุณหภูมิน้ำเดือดภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

วิธีการพาสเจอร์ไรส์
วิธีการพาสเจอร์ไรส์มี 2 วิธีคือ
1. วิธีใช้ความร้อนต่ำ - เวลานาน (LTLT : Low Temperature - Long Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62.8 - 65.6 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที เมื่อผ่านความร้อนโดยใช้เวลาตามที่กำหนดแล้ว ต้องเก็บอาหารไว้ในที่เย็นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 7.2 องศาเซลเซียส กรรมวิธีการนี้นอกจากจะทำลายแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคแล้วยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ย่อยไขมันชนิดไลเปส (Lipase) ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดกลิ่นหืนในน้ำนมด้วย
2. วิธีใช้ความร้อนสูง - เวลาสั้น (HTST : High Temperature - Short Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าวิธีแรก แต่ใช้เวลาน้อยกว่าคืออุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียสคงไว้เป็นเวลา 15 วินาที อาหารที่ผ่านความร้อนแล้วจะได้รับการบรรจุลง กล่องหรือขวดโดยวิธีปราศจากเชื้อแล้วนำไปแช่เย็นที่อุณหภูมิ 7.2 องศาเซลเซียส

ประโยชน์และข้อควรปฏิบัติ
การพาสเจอร์ไรส์เป็นการถนอมอาหารแบบชั่วคราว เพราะสามารถป้องกันมิให้จุลชีพเจริญในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่สารอาหารยังอยู่ครบถ้วนหรือเกือบครบถ้วน ดังนั้นจึงมีประโยชน์ต่ออาหารที่ต้องรับประทานเป็นประจำแต่ไม่เก็บไว้นาน ๆ เช่น นม น้ำผลไม้ ไอศกรีม ก่อนนำไปปั่นแข็ง เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์แล้วโดย เฉพาะนมดังนี้คือ
1. นมพาสเจอร์ไรส์ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอ บุคคลทั่วไป เข้าใจว่านมสดเมื่อได้รับการฆ่าเชื้อแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น แต่ความเป็นจริงแล้วความร้อนที่ใช้เพียงแต่ฆ่าเชื้อที่เป็นสาหตุของโรคเท่านั้น แต่จุลชีพที่ไม่เป็นสาเหตุของโรคยังคงมีอยู่ในน้ำนมและจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหากไม่เก็บนมไว้ในตู้เย็นนมอาจจะเสียภายใน 1 - 7 วันเท่านั้น ดังนั้นพึงระลึกเสมอว่านมพาสเจอร์ไรส์นั้นต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่มี อุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียส
2. ให้สังเกตลักษณะของนมก่อนดื่ม เพราะนมพาสเจอร์ไรส์จะมีกำหนดอายุ ผู้ผลิตที่ดีต้องพิมพ์วันหมดอายุของนมสดไว้บนถุงที่บรรจุทุกครั้งที่ผลิต โดยทั่วไป นมสดจะมีอายุประมาณ 7 วัน โดยที่นมสดต้องเก็บในสภาพเย็นตลอดแต่ถ้านมสดถูกทิ้งไว้ในอุณหภูมิธรรมดานอกตู้เย็นนาน ๆ โดยเฉพาะหน้าร้อน นมสดอาจจะเสียได้ภายใน 3 วันเท่านั้น ดังนั้นก่อนดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ทุกครั้งควรรินใส่แก้ว สังเกตดูว่าถ้ามีตะกอนเป็นเม็ดขาว ๆ เกิดขึ้น แสดงว่านมนั้นเสียแต่ถ้าไม่มีเม็ดขาว ๆ ควรตรวจสอบด้วยการชิมถ้ามีรสเปรี้ยวเกิดขั้นไม่ควรดื่มนมนั้น
3. ไม่ควรเก็บนมสดไว้นานเกินไป ถึงแม้จะเก็บนมพาสเจอร์ไรส์ไว้ในตู้เย็นก็อาจเสียได้ หลายคนประหลาดใจที่พบว่าบ่อยครั้งโดยเฉพาะหน้าร้อน นมสดที่เก็บไว้ในตู้เย็นก็ยังเสียได้ ทั้งนี้เพราะหลังจากการบรรจุถุงพลาสติกแล้วกว่านมจะถูกนำมาส่งที่บ้านอาจจะมีอุณหภูมิสูงนานเกินไป จุลชีพจึงเจริญเติบโตจนทำให้นมเกือบจะเสีย แม้เก็บไว้ในตู้เย็นอีก 2 วัน จุลชีพก็ยังสามารถเจริญเติบโตพอที่จะทำให้นมเสียได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรดื่มให้หมด

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

เอนไซม์

เอนไซม์ ( Enzyme )




เอนไซม์ คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เป็นสารประกอบพวกโปรตีน สามารถลดพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา เอนไซม์จะเร่งเฉพาะชนิดของปฏิกิริยา และชนิดของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา

การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์


E เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (เอนไซม์)
S เป็นสารตั้งต้นเรียกว่า สับสเตรต และ P เป็นสารผลิตภัณฑ์

E + S
--------------->
ES
--------------->
E + P


สารเชิงซ้อน




ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์

1. ชนิดของสารที่เอนไซม์ไปควบคุมปฏิกิริยา
2. ความเข้มข้นของสับสเตรดเปลี่ยนตามอัตราการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์
3. ความเข้มข้นของเอนไซม์เปลี่ยนตามอัตราการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์
4. ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย ส่วนมากเอนไซม์จะทำงานได้ดีในช่วง pH เป็นเบสเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามเอนไซม์จะเร่งปฏิกิริยาให้เกิดเร็วในช่วง pH ใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดของสับสเตรตนั้น ๆ
5. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่ 37 ํC เป็นอุณหภูมิที่เอนไซม์ส่วนใหญ่ทำงานได้ดี อุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้การทำงานของเอนไซม์เสื่อมไป เพราะเอนไซม์เป็นโปรตีนเมื่ออุณหภูมิสูงเอนไซม์ถูกทำลายธรรมชาติไป
6. สารยับยั้งปฏิกิริยาของเอนไซม์ สารบางชนิดเมื่อรวมตัวเอนไซม์จะทำให้เอนไซม์ทำงานช้าลงหรือหยุดทำงานได้
7. สารกระตุ้น เอนไซม์บางชนิดต้องการไอออนพวกอนินทรีย์เป็นตัวกระตุ้น จึงจะเกิดการทำงานและเกิดอัตราการเกิดปฏิกิริยา





ระบบย่อยอาหาร
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร

การย่อยในปาก
การย่อยในร่างกายของคนแบ่งเป็น 2 แบบ แบบแรก คือการย่อยเชิงกล โดยการใช้ฟันบดเคี้ยว หรือการบีบรัดของทางเดินอาหาร แบบที่ 2 คือ การย่อยทางเคมี โดยการใช้น้ำย่อยหรือเอนไซม์ ทำให้อาหารมีโมเลกุลเล็กลงการย่อยเชิงกลเริ่มตั้งแต่ปาก ในปากมีฟันทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด คนมีฟัน 2 ชุด ชุดแรก เรียกฟันน้ำนม มี 20 ซี่ชุดที่ 2 เรียกฟันแท้มี 32 ซี่ บางคนอาจไม่มีครบเนื่องจากฟันขึ้นไม่ครบ นอกจากนั้น แล้ว ในปากยังมีน้ำลายที่ผลิตจากต่อมน้ำลายประมาณวันละ 1-1.5 ลิตร ในน้ำลายมีเอนไซม์อะไมเลสสามารถย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลได้ แป้งที่ถูกย่อยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของน้ำตาลโมเลกุลคู่ คือ น้ำตาลมอลโทส และเอนไซม์ในน้ำลายจะทำงานได้ดีระหว่างค่าพีเอช 6.4-7.2
การย่อยในกระเพาะอาหาร
ผนังกระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรงมาก และยืดหยุ่น ภาวะปกติมีขนาด 50 ลบ.ซม. เมื่อมีอาหารจะขยายความจุได้ถึง 1,000-1,200 ลบ.ซม. กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 แห่ง คือ หูรูดส่วนต้นที่ต่อกับหลอดอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูที่ต่อกับลำไส้เล็กกระเพาะอาหารจะสร้างกรดเกลือ(ไฮโดรคลอริก)และเอนไซม์ ตามปกติอาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารประมาณ 30 นาที ถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารเอนไซม์ที่กระเพาะอาหารสร้าง ได้แก่ เพปซิน ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็กลง แต่ยังไม่เล็กที่สุดที่จะสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์ได้
การย่อยในลำไส้เล็ก
อาหารจะเคลื่อนจากกระเพาะอาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดเข้าสู่ลำไส้เล็ก การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกิดจากการทำงานของอวัยวะ 3 ชนิด คือ ตับอ่อน ผนังลำไส้เล็ก และตับ
ตับอ่อน
ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด เช่น อะไมเลส ย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นกลูโคส ไลเพส ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมัน และกลีเซลรอล ส่วนเอนไซม์ทริปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน นอกจากนี้ ตับอ่อนยังสร้างสารโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอ- เนต ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนออกมาเพื่อลดความเป็นกรดของอาหารที่มาจากกระเพาะอาหารลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 7 เมตร ขดอยู่ในช่องท้อง ลำไส้เล็กส่วนต้นต่อจากระเพาะอาหาร ยาวประมาณ 0.30 เมตร เรียก ดูโอดินัม ลำไส้เล็กส่วนกลางยาวประมาณ 2.5 เมตร เรียก เจจูนัม และส่วนของลำไส้เล็กส่วนสุดท้ายยาวประมาณ 4 เมตร เรียก ไอเลียม ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นปุ่มไม่เรียบ เรียกว่า วิลไล

ตับ ทำหน้าที่สร้างน้ำดีเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี จากถุงน้ำดีมีท่อมาเปิดเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัมน้ำดีจะช่วยกระจายไขมันให้แตกตัวออกเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วเอนไซม์ไลเพสจะทำการย่อยต่อไป จนได้กรดไขมันและกลีเซอรอล นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสารบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเก็บสะสมวิตามินและธาตุเหล็กการย่อยที่ในลำไส้เล็ก ต้องอาศัยเอนไซม์จากตับอ่อน (Pancreas)ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ต่างๆดังนี้
1. ทริปซิน (Trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
2. อะไมเลส (Amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคส
3. ไลเพส ( Lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันและกลีเซอรอล
สรุป การย่อยอาหารประเภทต่างๆ ในลำไส้เล็ก
คาร์โบไฮเดรต
แป้ง เอนไซม์ อะไมเลส ได้น้ำตาลกลูโคสมอลโทส เอนไซม์ มอลเทส ได้ น้ำตาลกลูโคส+น้ำตาลกลูโคสซูโครส เอนไซม์ ซูเครส ได้ น้ำตาลกลูโคส+น้ำตาลฟรุกโทสแลกโทส เอนไซม์ แลกเทส ได้ น้ำตาลกลูโคส+น้ำตาลกาแลกโทส
โปรตีน
โปรตีนหรือเพปไทด์ เอนไซม์ ทริปซิน ได้ กรดอะมิโน

ไขมัน
ไขมัน น้ำดี ได้ ไขมันขนาดเล็ก เอนไซม์ไลเพส ได้ กรดไขมัน + กลีเซอรอล

โครงสร้างของ DNA

โครงสร้างของ DNA

ปี พ.ศ. 2493 – 2494 เอ็ม เอช เอฟ วิลคินส์ ( M. H.F Wilkins ) และโรซาลินด์ แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ศึกษาโครงสร้างของ DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ โดยใช้เทคนิค เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน (X-ray diffraction) ด้วยการฉายรังสีเอกซ์ผ่านผลึก DNA การหักเหของรังสีเอกซ์ทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์ม ได้ภาพถ่ายที่ชัดเจนมาก จากภาพถ่ายนี้นักฟิสิกส์แปลผลได้ว่าโครงสร้างของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ มีลักษณะที่คล้ายกันมาก คือ ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย มีลักษณะเป็นเกลียว เกลียวแต่ละรอบมีระยะห่างเท่า ๆ กัน จากผลการศึกษาทำให้เข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของ DNA



ภาพ : ภาพที่เกิดจากการหักเหของรังสีเอกซ์ผ่านผลึก DNA


ปี พ.ศ. 2496 เจ ดี วอตสัน (J.D. Watson) นักชีวเคมีชาวอเมริกัน และ เอฟ คริก (F. Crick) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้เสนอแบบจำลองโครงสร้างโมเลกุลของ DNA ที่สมบูรณ์ที่สุด โดยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากโครงสร้างทางเคมีของส่วนประกอบของโมเลกุล DNA จากผลการทดลองของชาร์กาฟฟ์ที่แสดงให้เห็นว่า DNA มีเบส A เท่ากับ T และ เบส C เท่ากับ G และภาพจากเทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันของผลึก DNA โดยนักฟิสิกส์นำความรู้ที่ได้มารวมกันเป็นแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA
จากข้อมูลของชาร์กาฟฟ์ ทำให้วอตสันและคริกพยายามหาพันธะเคมีที่จะเชื่อมพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายให้ติดกัน ต่อมาได้พบว่าพันธะดังกล่าวคือพันธะไฮโดรเจน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างคู่เบส แม้ว่าจะไม่แข็งแรง แต่เมื่อมีจำนวนมากก็จะมีความแข็งแรงพอที่จะยึดสายพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายให้เข้าคู่กันได้ และจากการศึกษาโครงสร้างของเบสทั้ง 4 ชนิด พบว่าระหว่างเบส A กับ T สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้ 2 พันธะ และระหว่างเบส C และ G เกิดได้ 3 พันธะ ดังภาพ..



.
ภาพ : พันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสที่เข้าคู่กัน


หลังจากนั้นวอตสันและคริกจึงสร้างแบบจำลอง DNA ตามแนวคิด โดยให้พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายเรียงสลับทิศกัน ปลาย 3 ของสายหนึ่งเข้าคู่กับปลาย 5 ของอีกสายหนึ่ง เบส A ของสายหนึ่งตรงกับเบส T ของอีกสายหนึ่ง และเบส C ของสายหนึ่งตรงกับเบส G ของอีกสายหนึ่งเสมอ จากนั้นจึงเสนอโครงสร้างโมเลกุลของ DNA ว่าประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย เบสในแต่ละสายของ DNA ที่เป็น เบสคู่สม (complementary base pair ) ยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจนโดยมีเบส A จับคู่กับเบส T และเบส C จับคู่กับเบส G โดยมีทิศทางจากปลาย 5 ไปยังปลาย 3 แต่สวนทางกันและพันกัน บิดเป็นเกลียวคู่ (double helix) เวียนขวาตามเข็มนาฬิกา เกลียวแต่ละรอบห่างเท่า ๆ กัน และมี คู่เบสจำนวนเท่ากัน
โครงสร้างเกลียวคู่ทำให้โครงสร้างของ DNA มีลักษณะคล้ายบันไดเวียน โดยมีน้ำตาลดีออกดีไรโบสจับกับหมู่ ฟอสเฟต เป็นราวบันได (backbones) และบันไดแต่ละขั้น คือ คู่เบส 1 คู่




นักเรียนได้ศึกษามาแล้วว่าโครงสร้างของ DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์จำนวนมาก แม้ว่า DNA จะมีนิวคลีโอไทด์เพียง 4 ชนิด แต่โมเลกุลอาจประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์หลายพันคู่จนถึงนับแสนคู่ ตัวอย่างเช่น ถ้า DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 2 โมเลกุลเรียงกัน จะสามารถจัดเรียงให้แตกต่างกันได้ 16 แบบ (4) ดังนั้นถ้าโมเลกุล DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์จำนวนมาก การเรียงลำดับของเบสก็จะแตกต่างกันมากด้วยเช่นเดียวกัน
ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ๆ มีหลายลักษณะ และลำดับเบสของ DNA ซึ่งเกิดจากเบสชนิดต่าง ๆ กันนั้นมีหลายรูปแบบก็น่าจะมากพอที่จะทำหน้าที่ควบคุมหรือกำหนดลักษณะพันธุกรรมต่าง ๆ ได้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ DNA กำหนดและควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมี

โครงสร้างของดอก


ดอกไม้ทั่วไปประกอบด้วยระยางค์ต่างๆ 4 ส่วน แต่ละส่วนจะเรียงเป็นชั้นเป็นวง เรียงตามลำดับจากนอกสุดเข้าสู่ด้านในคือ1. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ จึงมักมีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่ส่วนในของดอก นอกจากนี้จะช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ด้วย กลีบเลี้ยงของพืชอาจอยู่แยกกันเป็นกลีบๆ เรียกว่า อะโปเซพัลลัส (Asoposepalous) หรือพอลิเซพัลลัส (Polysepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกบัวสาย และดอกพุทธรักษา แต่บางชนิดกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันเรียกว่า แกมโมเซพัลลัส (Gamosepalous) หรือ ซินเซพัลลัส (Synsepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกชบา แตง บานบุรี และดอกแค เป็นต้น วงกลีบเลี้ยงทั้งหมดนี้เรียกว่า แคลิกซ์ (Calyx)ในพืชบางชนิดกลีบเลี้ยงมีสีต่างๆ นอกจากสีเขียวเรียกว่า เพทัลลอยด์ (Petaloid) ทำหน้าที่ช่วยล่อแมลงในการผสมเกสร เช่นเดียวกับกลีบดอก นอกจากนี้ในดอกชบา และดอกพู่ระหงจะมี ริ้วประดับ (Epicalyx) เป็นกลีบเลี้ยงเล็กๆ ใกล้กลีบเลี้ยง
2. กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปข้างใน มักมีสีสันต่างๆ สวยงาม เนื่องจากมีรงควัตถุชนิดต่างๆ ได้แก่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และแอนโทแซนทิน (Anthoxanthin) ละลายอยู่ในสารละลายแวคิวโอล ทำให้กลีบดอกเป็นสีต่างๆ เช่น สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน หรืออาจมีแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในพลาสติด ทำให้กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือแสด ส่วนดอกสีขาวและไม่มีสีเกิดจากไม่มีรงควัตถุอยู่ภายในเซลล์ของกลีบดอก นอกจากนี้กลีบดอกของพืชบางชนิด อาทิเช่น ดอกพุดตาลสามารถเปลี่ยนสีได้ ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นกรดและด่างภายในเซลล์ของกลีบดอกเปลี่ยนแปลงไป วงของกลีบดอกทั้งหมดเรียกว่า colloraทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกจัดเป็นส่วนประกอบรอง (Acessory part) ห่อหุ้มอยู่รอบนอกของดอก พืชบางชนิดกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน แยกกันไม่ออกเรียกชั้นนี้ว่า วงกลีบรวม (Perianth) กลีบแต่ละกลีบเรียกว่า ทีพัล (Tepal) ได้แก่ บัวหลวง จำปี และจำปา เป็นต้น3. เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้มักมีหลายอันเรียงเป็นชั้นหรือเป็นวงเรียกว่าแอนดรีเซียม (Andrecium) เกสรตัวผู้แต่ละอันอาจอยู่แยกกัน หรือเชื่อมติดกัน บางชนิดอาจติดกับส่วนอื่นของดอกก็ได้ เกสรตัวผู้แต่ละอันจะประกอบขึ้นด้วย ก้านเกสรตัวผู้ (Filament) และ อับเรณู (Anther) ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงมี 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ ยาว 4 ถุงเรียกว่า ถุงเรณู (Pollen sac หรือ Microsporangium) จะบรรจุละอองเรณู (Pollen grain) จำนวนมาก ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้ว ถุงเรณูจะแตกออก ละอองเรณูจะปลิวออกมา จำนวนเกสรตัวผู้ในแต่ละดอกจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช พืชโบราณมักมีเกสรตัวผู้จำนวนมากในขณะที่พืชซึ่งมีวิวัฒนาการสูงขึ้น จำนวนเกสรตัวผู้ในดอกจะลดน้อยลง อนึ่งเกสรตัวผู้ของพืชบางชนิดอาจเป็นหมัน จึงไม่สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือละอองเรณูได้เรียกว่า สตามิโนด (Staminode) ตัวอย่างเช่น เกสรบางอันของกล้วย และชงโค บางชนิดอาจมีสีสันสวยงามแผ่เป็นแผ่นแบน คล้ายกลีบดอกเรียกว่า เพทัลลอยด์สตามิโนด (Petaloid staminode) เช่น พุทธรักษา4. เกสรตัวเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ในสุด และจำเป็นในการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกสรตัวเมียในแต่ละดอกอาจมี 1 หรือหลายอันซึ่งแยกจากกันเป็นอิสระ หรือเชื่อมติดกัน ชั้นของเกสรตัวเมียเรียกว่า จินนีเซียม (Gymnoecium) เกสรตัวเมียแต่ละอันประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1) รังไข่ (Ovary) เป็นส่วนที่พองโตออกเป็นกระพุ้ง2) ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) เป็นเส้นเรียวยาวเล็กๆ ทำหน้าที่ชูเกสรตัวเมีย และเป็นทางผ่านของหลอดละอองเรณู (Pollen tube) 3) ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) อยู่ส่วนปลายของละอองเรณูซึ่งมักพองออกเป็นปมมีขนหรือน้ำเหนียวๆ สำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมา หรือพาหะพามาดอกบางชนิดไม่มีก้านเกสรตัวเมีย ยอดเกสรตัวเมียจะติดกับด้านบนของรังไข่โดยตรง เช่น ดอกมังคุด เป็นต้นภายในรังไข่แต่ละอันจะมีโอวุล (Ovule) 1 หรือหลายอัน แต่ละโอวุลจะมีไข่ (Egg) ซึ่งเมื่อผสมกับสเปิร์ม (Sperm) แล้วจะกลายเป็นไซโกต (Zygote) และมีการเจริญเติบโตพัฒนาต่อไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) หรือต้นอ่อน ส่วนโอวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ดห่อหุ้มเอมบริโอไว้ โอวุลจะติดกับผนังรังไข่ด้วยก้านเล็กๆ เรียกว่า ฟันนิคูลัส (Funiculus) ผนังของรังไข่ตรงที่ฟันนิคูลัสมาเกาะมักพองโตเล็กน้อยเรียกว่า รก (Placenta)ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก เปลี่ยนสภาพมาจากกิ่งเพื่อรองรับส่วนต่างๆ ของดอก มีรูปร่างแตกต่างกันไปหลายแบบ อาทิเช่น แผ่แบนคล้ายจาน เช่น ทานตะวันเว้าเป็นรูปถ้วย เช่น กุหลาบ นูนสูง เช่น สตรอเบอรี่ เป็นต้นริ้วประดับ (Bract) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ช่วยรองรับดอก หรือช่อดอก อยู่บริเวณโคนก้านดอก มักมีสีเขียว มีรูปร่างต่างๆ เช่น คล้ายใบที่ลดขนาดลง หรือเปลี่ยนมาเป็นริ้วเล็กๆ ในดอกชบา พู่ระหง ริ้วประดับมีสีเขียวคล้ายกลีบเลี้ยงเล็กๆ เรียกว่า เอพิแคลิกซ์ (Epicalyx) ริ้วประดับของดอกทานตะวันเป็นใบเล็กๆ ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ บางครั้งริ้วประดับอาจมีสีฉูดฉาดสวยงามคล้ายกลีบดอก เช่น เฟื่องฟ้า คริสต์มาส ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดริ้วประดับแผ่เป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียว อาจมีสีสันสวยงาม เช่น ดอกหน้าวัว อุตพิต หรือกาบปลีกล้วย มะพร้าว และหมาก เป็นต้น
เขียนโดย อมรา ชัยสงคราม ที่ 10:28 หลังเที่ยง

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบประสาท

ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส

เซลประสาทประกอบไปด้วยตัวเซล และใยประสาท
- ตัวเซล เป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส
- ใยประสาทแบ่งเป็น 2 พวก คือ
1. พวกที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซล คือ เดนไดรต์ (dendrite)
2. พวกที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซล คือแอกซอน (axon)
ภาพโครงสร้างเซลประสาท


ภาพแอกซอนตัดตามขวางแสดงเซลชวานและเยื่อไมอีลีน
ใยประสาทจะมีเยื่อไมอีลิน (Myelin sheath) หุ้มอยู่ตรงรอยต่อ
ของเซล ชวานแต่ละเซล คือ โนดออฟแรนเวียร์ (node of
Ranvier)
ชนิดของเซล ประสาท แบ่งได้เป็น
1. เซลประสาทขั้วเดียว
2. เซลประสาทสองขั้วเป็นเซลประสาทรับความรู้สึกเข้าสู่
ไขสันหลังและสมอง
3. เซลประสาทหลายขั้ว เป็นเซลประสาทนำคำสั่งจากสมองหรือ
ไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติการ
เยื่อหุ้มเซลประสาท มีคุณสมบัติในการกั้นประจุไฟฟ้า
ภายนอกเซล ประสาทมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก ภายในเซลมีประจุ
ไฟฟ้าเป็นลบเพราะสารละลายภายนอกเซล มีไอออนที่เป็นเกลือ
สูงมาก จึงแตกตัวให้โซเดียมไอออน (Na+) และคลอไรด์ไอออน
(Cl- ) เยื่อหุ้มเซลจะส่ง Na+ ออกนอกเซลตลอดเวลา ขณะเดียวกัน
จะดึงโพแทสเซียมไอออน (K+) ให้สะสมอยู่ในเซล เรียกว่า
ขบวนการโซเดียมโพแทสเซียมปั้ม (Sodium Potassium pump)
ไซแนบส์ (Synapse) คือบริเวณที่ปลายของแอกซอนของเซล
ประสาทหนึ่งอยู่ชิดกับเดนไดรต์
บริเวณปลายแอกซอนจะมีถุงเล็ก ๆ ภายในมีสารสื่อประ
สาทเป็นพวกอะซีติลโคลีน (acetylcholine) สารสื่อประสาททำ
หน้าที่ช่วยให้กระแสประสาทผ่านไซแนบส์ไปสู่ปลายเดนไดรต์
ของอีกเซลหนึ่งได้
ศูนย์กลางของระบบประสาท
สมองและไขสันหลังเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท สมอง
และไขสันหลังเปลี่ยนแปลงมาจากนิวรัลทิวบ์ (neural tube)
สมอง
สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนหน้า ,
ส่วนกลาง และส่วนท้าย
สัตว์ที่สมองมีรอยหยัก จะมีความสามารถในการเรียนรู้สูง
สมองคน ประกอบไปด้วย
ภาพสมองคนผ่าซีก
ซีรีบรัม (Cerebrum)
พัฒนามาจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้ ความจำ
เชาว์ปัญญา เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่าง
กาย
ออลแฟกทอรีบัลบ์ (Olfactory bulb) สมองส่วนที่อยู่หน้า
สุดมีขนาดโตมาก สำหรับพวกปลาทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น
ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้า
ยื่นติดต่ดกับต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นศูนย์ควบ
คุมความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่าง
กาย การนอนหลับ การเต้นของหัวใจ ความดัน ความหิว
ทาลามัส (thalamus)
อยู่เหนือขึ้นไปจากไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวม
กระแสประสาท และแยกกระแสประสาทส่งไปยังสมอง
เซรีเบลลัม (Cerebellum) คือ ส่วนของสมองส่วนท้าย ทำหน้าที่
เป็นศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
พอนส์ (pons) อยู่ด้านหลังเซรีเบลลัม ทำหน้าที่ควบคุมการทำ
งานของการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย ควบคุมการเคลื่อนไหวบริเวณ
ใบหน้า
เมดุลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นสมองส่วนท้าย
ติดต่อกับไขสันหลัง ทำหน้าที่เป็นูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบ
ประสาทอัตโนมัติ เช่น ศูนย์ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ
การไหลเวียนของโลหิต


ไขสันหลัง














ไขสันหลังอยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อ
แรกถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2
ไขสันหลังตัดตามขวางจะเห็นมีเนื้อสีเทาด้านใน บริเวณนี้มี
เซลประสาทอยู่จำนวนมาก ส่วนบริเวณด้านนอกเป็นเนื้อสีขาว
จะมีใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม ส่วนที่เป็นเนื้อสีเทามีรูปร่าง
คล้ายปีกผีเสื้อ ปีดด้านบนคือ ดอร์ซัลฮอร์น (dorsal horn)
ปีกด้านล่างคือ เวนทรัลฮอร์น (Ventral horn) จากไขสันหลังมี
เส้นประสาทแยกออกมาเรียกว่า เส้นประสาทไขสันหลัง ตรง
โคนของเส้นประสาทแยกออกเป็น 2 ราก คือ
- รากบน (dorsal nerve)
- รากล่าง (Ventral nerve)
ปมประสาทรากบน (dorsal root ganglion)
จะมีเซลประสาทรับความรู้สึกมีเดนไดรต์อยู่ในเส้นประสาท
ปมประสาทรากล่าง (Ventral root ganglion)
ประกอบไปด้วยแอกซอนของเซลประสาท ทำหน้าที่นำ
กระแสประสาทไปยังหน่วยปฏิบัติการ เชื่อมโยงกระแสประสาท
ระหว่างเซลประสาทรับความรู้สึก และเซลประสาทนำคำสั่ง










การทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาท แบ่งออกเป็น







1. ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary nervous
system) เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อลาย










2. ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ได้แก่
- ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system)
- ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous
system)
ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
เรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ
การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
หัวใจ
การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกเต้นแรงและเร็ว ส่วน
การทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเต้นช้าและเบาลง
กล้ามเนื้อม่านตา
การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกม่านตาตามแนวรัศมีหด
ตัว(ปิวปิลขยาย) ส่วนการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพา
เทติกม่านตาแนวเส้นรอบวงหดตัว (ปิวปิลแคบลง)
กล้ามเนื้อหลอดลม
การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกคลายตัวออก หายใจ
คล่อง ส่วนการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกหดตัว
เข้า หายใจไม่สะดวด
กระเพาะปัสสาวะ
การทำงานระบบประสาทซิมพาเทติกคลายตัว ส่วนการทำงาน
ของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกบีบตัว และขับปัสสาวะ
ต่อมน้ำลาย
การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกสร้างน้ำเมือก ทำให้
น้ำลายเหนียว และหลั่งออกมาน้อย ส่วนการทำงานของระบบ
ประสาทพาราซิมพาเทติกสร้างส่วนที่เป็นน้ำ ทำให้น้ำลายใส
และหลั่งออกมามาก


นัยน์ตาและการมองเห็น












ผนังที่ห่อหุ้มนัยต์ตาประกอบด้วย
1. สเคลรา (sclera)
2. โครอยด์ (choroid)
3. เรตินา (retina)
เซลรับแสงมีรูปร่างต่างกัน แบ่งได้เป็น
1. เซลรูปแท่ง (rod cell) ทำหน้าที่เป็นเซลรับแสง ที่มีความไว
ต่อแสงมาก
2. เซลรูปกรวย (Cone cell) ทำหน้าที่บอกความแตกต่างของสี
โฟเวีย (fovea) คือบริเวณตรงกลางของเรตินาที่ปรากฎภาพได้
ชัดเจนมาก
เซลรูปแท่งภายในประกอบด้วยโรดอปซิน (rhodopsin) ซึ่ง
เป็นสารสีม่วงแดงเมื่อถูกแสงจะเปลี่ยนเป็นเรตินา (retinene) และ
ออปซิน (opsin)

หูและการรับฟัง












หู คือ อวัยวะรับฟังของคน มีหน้าที่รับความถี่ของคลื่นเสียงใน
ระดับต่าง ๆ และทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
หูแบ่งได้เป็น
1. หูตอนนอก คือตั้งแต่ใบหูจนถึงเยื่อแก้วหู ทำหน้าที่รับคลื่น
เสียงจากภายนอก
2. หูตอนกลาง มีลักษณะเป็นโพรง หูตอนกลางจะมีกระดูก 3 ชิ้น
คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง กระดูกโกลน
3. หูตอนใน ประกอบไปด้วยอวัยวะที่รับเสียงและอวัยวะเกี่ยว
กับการทรงตัว
- อวัยวะรับเสียงอยู่ภายในคอเคลีย (Cochlea)
- อวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว คือ เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล
(Semicircular canal) มีลักษณะเป็นหลอดครึ่งวงกลม 3 อัน
ที่ปลายหลอดมีเซลรับความรู้สึกที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
ของศีรษะ และส่งกระแสประสาทไปยังสมอง
จมูกและการดมกลิ่น
ภายในเยื่อบุจมูกมีเซลรับสัมผัส ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับกลิ่น
จะทำงานโดยส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาทรับกลิ่น และส่ง
ต่อไปยังสมองส่วนซีรีบรัม
ลิ้นและการซิมรส
ลิ้นจะมีเซลรับรส อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ คือ ตุ่มรับรส (taste
bud) มี 4 ชนิด คือ
- ตุ่มรับรสเค็ม
- ตุ่มรับรสหวาน
- ตุ่มรับรสขม
- ตุ่มรับรสเปรี้ยว
ภาพแสดงบริเวณของตุ่มรับรสต่าง ๆ ของลิ้น

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของเซลล์

โครงสร้างเซลล์: นิวเคลียส:ไซโทพลาซึม:ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์นิวเคลียส >> ไซโทพลาซึม >> ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์
เซลล์โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่า ในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มีหลายขนาด รูปร่าง จำนวน และหน้าที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
1. นิวเคลียส (nucleus)เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีลักษณะเป็นก้อนทึบแสงเด่นชัดอยู่บริเวณกลางๆ เซลล์โดยทั่วๆ ไปจะมี 1 นิวเคลียส เซลล์พารามีเซียม มี 2 นิวเคลียส นิวเคลียสมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม
สารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส ประกอบด้วย 1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA เป็นส่วนประกอบของโครโมโซมนิวเคลียส 2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (ribonucleic acid) หรือ RNA เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส 3. โปรตีน ที่สำคัญคือโปรตีนฮีสโตน (histone) โปรตีนโพรตามีน (protamine) ทำหน้าที่เชื่อมเกาะอยู่กับ DNA ส่วนโปรตีนเอนไซม์ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก โครงสร้างของนิวเคลียส ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ที่เยื่อนี้จะมีรู เรียกว่านิวเคลียร์ พอร์ (nuclear pore) หรือ แอนนูลัส (annulus) มากมาย ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่างๆ ระหว่างไซโทพลาซึมและนิวเคลียส นอกจากนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียสยังมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ 2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป 3. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (phosphoprotein) และไม่พบโปรตีนฮีสโตนเลย นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน

2. ไซโทพลาซึม (cytoplasm)เป็นส่วนที่ล้อมรอบนิวเคลียสอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ 1. เอกโทพลาซึม (ectoplasm) เป็นส่วนของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านนอกติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะบางใส เพราะมีส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์อยู่น้อย 2. เอนโดพลาซึม (endoplasm) เป็นชั้นของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านในใกล้นิวเคลียส ชั้นนี้จะมีลักษณะที่เข้มข้นกว่าเนื่องจากมี ออร์แกเนลล์ (organelle) และอนุภาคต่างๆ ของสารอยู่มาก จึงเป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของเซลล์มากด้วย ไซโทพลาซึม นอกจากแบ่งออกเป็น 2 ชั้น แล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ก. ออร์แกเนลล์ (organelle) เป็นส่วนที่มีชีวิต ทำหน้าที่คล้ายๆ กับเป็นอวัยวะของเซลล์ ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม (membrane bounded organelle) 1. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลม ท่อนสั้น ท่อนยาว หรือกลมรีคล้ายรูปไข่ ประกอบด้วยสารโปรตีน ประมาณร้อยละ 60-65 และลิพิดประมาณร้อยละ 35-40 ภายในไมโทคอนเดรียมีของเหลวซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิดเรียกว่า มาทริกซ์ (matrix) มีเอนไซม์ที่สำคัญในการสร้างพลังงานจากการหายใจ นอกจากนี้ยังพบเอนไซม์ในการสังเคราะห์ DNA สังเคราะห์ RNA และโปรตีนด้วย หน้าที่ของไมโทคอนเดรียคือ เป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์โดยการหายใจ 2. เอนโดพลาสมิก เรติคูลัม (endoplasmic reticulum:ER) เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม
ประกอบด้วยโครงสร้างระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 2.1 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum:RER) เป็นชนิดที่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญคือ การสังเคราะห์โปรตีนของไรโบโซมที่เกาะอยู่ และลำเลียงสารซึ่งได้แก่โปรตีนที่สร้างได้ และสารอื่นๆ 2.2 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum:SER) เป็นชนิดที่ไม่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญคือ ลำเลียงสารต่างๆ เช่น RNA ลิพิดโปรตีนสังเคราะห์สารพวกไขมันและสเตอรอยด์ฮอร์โมน 3. กอลจิ บอดี (Golgi body) มีรูปร่างลักษณะเป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีหน้าที่สำคัญคือ เก็บสะสมสารที่เซลล์สร้างขึ้นก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่เป็นสารโปรตีน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างนีมาโทซีส (nematocyst) ของไฮดราอีกด้วย

4. ไลโซโซม (lysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้มเพียงชั้นเดียว รูปร่างกลมรี พบเฉพาะในเซลล์สัตว์เท่านั้น มีหน้าที่ที่สำคัญคือ 4.1 ย่อยสลายอนุภาคและโมเลกุลของสารอาหารภายในเซลล์ 4.2 ย่อยหรือทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์ 4.3 ทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว 4.4 ย่อยสลายโครงสร้างต่างๆ ของเซลล์ในระยะที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง 5. แวคิวโอล (vacuole) แวคิวโอลเป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นต่ำ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ 5.1 ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) เป็นพลาสติดที่ไม่มีสี 5.2 โครโมพลาสต์ (chromoplast) เป็นพลาสติดที่มีรงควัตถุสีอื่นๆ นอกจากสีเขียว 5.4 คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นพลาสติดที่มีสีเขียว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟีลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลวเรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง มี DNA,RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิดปะปนกันอยู่ ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม (nonmembrane bounded organelle) 1. ไรโบโซม (ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็ก พบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป ประกอบด้วยสารเคมี 2 ชนิด คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid:RNA) กับโปรตีน มีทั้งที่อยู่เป็นอิสระในไซโทพลาซึม และเกาะอยู่บนเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม พวกที่เกาะอยู่ที่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมจะบฃพบมากในเซลล์ต่อมที่สร้างเอนไซม์ต่างๆ พลาสมาเซลล์เหล่านี้จะสร้างโปรตีนที่นำไปใช้นอกเซลล์เป็นสำคัญ 2. เซนทริโอล (centriole) มีลักษณะคล้ายท่อทรงกระบอก 2 อันตั้งฉากกัน พบเฉพาะในสัตว์และโพรทิสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ เซนทริโอลแต่ละอันจะประกอบด้วยชุดของไมโครทูบูล (microtubule) ซึ่งเป็นหลอดเล็กๆ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงสารในเซลล์ ให้ความแข็งแรงแก่เซลล์และโครงสร้างอื่นๆ เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ การเคลื่อนที่ของเซลล์ ข. ไซโทพลาสมิก อินคลูชัน (cytoplasmic inclusion) หมายถึง สารที่ไม่มีชีวิตที่อยู่ในไซโทพลาสมิก เช่น เม็ดแป้ง (starch grain) เม็ดโปรตีน หรือพวกของเสียที่เกิดจากกระบวนการแมแทบอลิซึม
3. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์หมายถึง โครงสร้างที่ห่อหุ้มไซโทพลาซึมของเซลล์ให้คงรูปร่างและแสดงขอบเขตของเซลล์ ได้แก่ 1. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เยื่อหุ้มเซลล์มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น พลาสมา เมมเบรน (plasma membrane) ไซโทพลาสมิก เมมเบรน (cytoplasmic membrane) เยื่อหุ้มเซลล์มีความหนาประมาณ 75 อังสตรอม ประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ลิพิดประมาณร้อยละ 40 การเรียงตัวของโปรตีนและลิพิดจัดเรียงตัวเป็นสารประกอบเชิงซ้อน การเรียงตัวในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ยูนิต เมมเบรน (unit membrane)
เยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่หลายประการคือ 1. ห่อหุ้มส่วนของโพรโทพลาซึมที่อยู่ข้างในทำให้เซลล์แต่ละเซลล์แยกออกจากัน 2. ช่วยควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆ ระหว่างภายในเซลล์และสิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติเป็นเซมิเพอร์มีเอเบิล เมมเบรน (semipermeable membrane) ซึ่งจะยินยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นที่ผ่านเข้าออกได้ ซึ่งการผ่านเข้าออกจะมีอัตราเร็วที่แตกต่างกัน 3. ความต่างศักย์ทางไฟฟ้า (electrical potential) ของภายในและภายนอกเซลล์เนื่องมาจากการกระจายของไอออนและโปรตีนไม่เท่ากัน ซึ่งมีความสำคัญในการนำสารพวกไอออนเข้าหรือออกจากเซลล์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อมาก 4. เยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่รับสัมผัสสาร ทำให้เกิดการเร่งหรือลดการเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์นั้นๆ 2. ผนังเซลล์ (cell wall) ผนังเซลล์ พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลากชนิด เช่น เซลล์พืช สาหร่าย แบคทีเรีย และรา ผนังเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ โดยที่ผนังเซลล์เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตของเซลล์

ผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยชั้นต่างๆ 3 ชั้น คือ 1. ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ (middle lamella) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์พืชแบ่งตัวและเป็นชั้นที่เชื่อมระหว่างเซลล์ให้อยู่ติดกัน 2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิ (primary wall) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เริ่มเจริญเติบโต ประกอบด้วยสารพวก เซลลูโลส เป็นส่วนใหญ่ 3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิ (secondary wall) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์หยุดขยายขนาดแล้ว โดยมีสารพวก เซลลูโลส คิวทิน ซูเบอริน ลิกนิน และเพกทินมาเกาะ